แนวทางการแก้ไขปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าววัชพืช
จากการทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรีและนครนายก เพื่อหาวิธีกำจัดข้าววัชพืชมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึง ปัจจุบัน พอจะสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น
1. หากมีการระบาดเล็กน้อย ควรรีบกำจัดโดยการถอนต้นออกจากแปลง
2. หากมีการระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1 ฤดู หากจำเป็นต้องปลูกข้าว ให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกแล้วกำจัดทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว
3. การตัดรวง ควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ และในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้ว ควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง
4. ทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชที่อาจติดมาจากแปลงอื่นและป้องกันไม่ให้แพร่กระจายไปสู่ แปลงอื่น
สิ่งสำคัญที่อยากจะเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่ง คือ การป้องกันจะกระทำได้ง่ายกว่าการกำจัด หากชาวนาสังเกตเห็นว่าเริ่มมีต้นข้าวที่สูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวปลูก ให้รีบถอนทิ้งทำลายเสียแต่เนิ่นๆ อย่าเข้าใจว่าเป็นข้าวปนที่เมล็ดไม่ร่วงเหมือนแต่ก่อน
การกำจัดข้าววัชพืชโดยใช้สารเคมี
เนื่องจากข้าววัชพืชมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับข้าวปลูกมาก ยากที่จะหาสารกำจัดวัชพืชมาควบคุมได้ สารเคมีที่สามารถฆ่าข้าววัชพืชได้ ก็เป็นอันตรายต่อข้าวปลูกได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีวิธีการใช้สารเคมีได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ข้าววัชพืชจะเจริญเติบโตดีกว่าข้าวปลูก คือ ภายในช่วง 8-10 วันหลังจากหว่านข้าว ซึ่งต้นข้าววัชพืชกำลังโผล่พ้นผิวดิน ในขณะที่ต้นข้าวปลูกตั้งตัวได้แล้วและมีใบ 2-3 ใบ ปล่อยให้ระดับน้ำท่วมยอดข้าววัชพืช (แต่ไม่ท่วมสะดือข้าว) แล้วหว่านสารเคมีกำจัดวัชพืชลงในน้ำ สารเคมีจะเข้าไปสู่ยอดข้าววัชพืชและถูกทำลายไปภายใน 7-10 วัน หลังจากนั้น ให้รักษาระดับน้ำไว้อีก 10-15 วัน เพื่อควบคุมข้าววัชพืชที่จะงอกขึ้นมาจากชั้นใต้ดินที่อยู่ลึกลงไปอีก จากการทดลองในแปลงเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 ฤดู ติด ต่อกัน พบว่ามีสารเคมี 3 ชนิด คือ บิวตาคลอร์ /2,4-ดี ไธโอเบนคาร์บ /2,4-ดี และ อ๊อกซาไดอาร์กิล ให้ผลการควบคุมค่อนข้าง สม่ำเสมอ แต่เปอร์เซ็นต์ในการควบคุมข้าววัชพืชต่างกันบ้าง เกษตรกรต้องพิจารณาทั้งเรื่องต้นทุน และผลที่จะด้รับ ก่อนที่จะเลือกสารชนิดใด ชนิดหนึ่งไปใช้ อัตราการใช้และประสิทธิภาพในการควบคุมข้าววัชพืชของสารทั้งสามชนิด ได้แสดงไว้ใน ตารางที่ 2
ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช
1. พื้นที่นาต้องค่อนข้างเรียบสม่ำเสมอ และสามารถควบคุมระดับน้ำให้ท่วมยอดข้าววัชพืช แต่ต้องไม่ท่วมสะดือข้าวปลูก เพราะเป็นจุดอ่อนที่สารเคมีจะเข้าทำลายข้าวปลูกได้
2. หากแปลงไม่สม่ำเสมอ ต้นข้าวปลูกที่อยู่บริเวณที่ลุ่มจะตาย ในทางกลับกัน หากข้าววัชพืชที่อยู่ในบริเวณที่ดอนจะรอดจากการ
ทำลาย ในบริเวณที่ลุ่มมากและไม่สามารถปรับระดับได้ ก็ไม่ควรหว่านข้าว
3. หลังจากหว่านสารเคมีแล้ว ต้องรักษาระดับน้ำไว้อีกอย่างน้อย 10-15 วัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมข้าววัชพืชในฤดู
นั้น หากปล่อยให้น้ำแห้ง ข้าววัชพืชสามารถงอกจากระดับที่ลึกกว่าผิวดินได้อีก ทำให้การควบคุมไม่ได้ผล
4. วิธีการใช้สารเคมีนี้ แนะนำให้ใช้สำหรับแปลงที่มีการระบาดรุนแรงเท่านั้น และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ฤดู เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าววัชพืชปรับตัวต้านทางต่อสารเคมี เนื่องจากข้าววัชพืชมีความหลากหลาย จึงสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นการกำจัดได้ดีมาก
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่จะกำจัดข้าววัชพืชได้ 100%
ดังนั้นหากมีต้นข้าววัชพืชหลงเหลืออยู่ในแปลงเกษตรกรควรใช้วิธี
ถอนต้นทิ้งเพื่อป้องกันการสร้างเมล็ดสะสมในแปลงฤดูต่อๆไป
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ใช้ที่ 8-10 วันหลังหว่านข้าว
สารกำจัดวัชพืช
|
สารออกฤทธิ์
|
สูตร1
|
อัตราการใช้ต่อไร่
|
เปอร์เซ็นต์การควบคุมข้าววัชพืช2
|
บิวตาคลอร์/2,4-ดี
|
3+3.8%G
|
เม็ด
|
4 กิโลกรัม
|
40-60
|
ไธโอเบนคาร์บ/2,4-ดี
|
5+2%G
|
เม็ด
|
4 กิโลกรัม
|
50-70
|
อ๊อกซาไดอาร์กิล
|
40%SC
|
น้ำ
|
100 ซีซี
|
70-90
|
อ๊อกซาไดอาร์กิล
|
80%WG
|
ผงอัดเม็ด
|
50 กรัม
|
70-90
|
*1 สูตรเม็ดใช้หว่านได้ทันที ส่วนสูตรน้ำและผงอัดเม็ดต้องคลุกทราย 4 กิโลกรัม ก่อนหว่าน
*2 เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร
หมายเหตุ: เกษตรกรควรปฏิบัติภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของนักวิชาการเพื่อป้องกันความเสียหาย
ที่อาจเกิดต่อข้าวปลูกในกรณีที่ใช้สารเคมีไม่ถูกต้องตามคำแนะนำ สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่
ดร. จรรยา มณีโชติ นักวิชาการการเกษตร 8ว. กลุ่มวิจัยวัชพืช